top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนThep

InputVat

ปัญหาที่พบมากในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วพบว่ามีเศษทศนิยมที่เกินกว่า 3 ตำแหน่ง เราจะมีวิธีการปัดเศษทศนิยมภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างไรนั้น ก่อนอื่นเราจะต้องแยกมูลค่าของสินค้า/บริการ ออกจากราคารวมของสินค้า/บริการให้ได้อย่างชัดเจนก่อน จากนั้นจึงค่อยพิจารณาเศษทศนิยมที่คำนวนได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ โดยให้ยึดหลักในการปฎิบัติดังนี้

   1.หากเศษทศนิยมของภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักที่ 3 มีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดทิ้งไป ไม่ต้องนำมาคำนวน เช่น

   2.หากเศษทศนิยมของภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักที่ 3 มีค่าเกินกว่า 5 ขึ้นไป ให้ปัดเศษขึ้น เช่น


    ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้รับใบกำกับภาษีซื้อ ที่มีจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม มากกว่า หรือ น้อยกว่า   จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนได้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ในการใช้เป็นภาษีซื้อ     1.หากภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีซื้อ มีมากกว่า จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนได้จากยอดสินค้า/บริการตามบิล ให้สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้เป็นภาษีซื้อได้เท่าที่คำนวนได้จริง

    2.หากภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีซื้อ มีน้อยกว่า จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนได้จากยอดสินค้า/บริการตามบิล ให้สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้เป็นภาษีซื้อได้ตามใบกำกับภาษีซื้อเท่าที่ผู้ขายคำนวนผิดมา  

3.ส่วนในกรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่มีการคำนวนภาษีผิดพลาดมากเกินกว่าจุดทศนิยม (ไม่ใช่การคำนวนผิดในหลักทศนิยม) ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้เป็นใบกำกับภาษีซื้อ เพื่อเครดิตภาษีซื้อได้ จะต้องแจ้งให้ผู้ออกใบกำกับทำการยกเลิกแล้วออกใหม่ให้ถูกต้อง จึงจะสามารถนำมาเครดิตภาษีได้


ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax ID 13 หลัก) ของหน่วยงานราชการ

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax ID 13 หลัก) ของหน่วยงานราชการ    กรมสรรพากร The Revenue Department (RD) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี: ...

コメント


bottom of page